การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศจำเป็นต้องอาศัยเทคนิคและความรู้หลาย ๆ ด้านมาประกอบกันเพื่อให้ได้ความปลอดภัยและประสิทธิภาพที่ดีที่สุด เพราะชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ประกอบเป็นจรวดและดาวเทียมที่มูลค่าสูง และบางภาระกิจมีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์จึงต้องอาศัยความปลอดภัยในระดับสูง แต่ถึงอย่างนั้นก็มีบางภาระกิจที่ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถออกแบบพัฒนาได้ในราคาประหยัด เช่น การพัฒนาดาวเทียม ที่เรียกว่า NanoSAT มีชุด KitSet ให้ประชาชน หรือโรงเรียน มีบริการ API ที่ใช้ติดต่อกับดาวเทียมได้เอง และมีการแบ่ง Payload ของตัวจรวด ให้กับผู้ที่ต้องการทำภาระกิจอวกาศ และการจะทำภาระกิจต่าง ๆ ให้ได้ประสิทธิภาพนั้นก็ต้องอาศัย Artficial Intelligence ในการประกอบกัน
AI ก็เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ทำให้ เศรษฐกิจของโลกขยายตัว (Digital Economy) เป็นส่วนในการยกระดับให้ผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์นั้นได้ เช่นเดียวกับภาระกิจทางอวกาศก็ต้องอาศัย AI เป็นส่วนช่วยในการปฏิบัติภาระกิจ
ตัวอย่าง AI ที่ใช้ในกิจการอวกาศ
CIMON-2
IBM, Airbus และ German DLR Space Agency ร่วมพัฒนาหุ่นยนต์ ที่มี AI ที่ค่อยตอบคำถามนักบินอวกาศ (Q/A) โดย CIMON จะเรียนรู้ในข้อมูลภาระกิจอวกาศหุ่นยนต์จะค่อยบินไปรอบ ๆ ค่อยช่วยนักบินทำภาระกิจรวมถึงเป็นเพื่อนกับนักบินตอบสนองทางอารมณ์ มีปฏิสัมพันธ์ กับผู้พูด จะแสดงผลบนจอที่เป็นหน้าของ CIMON ช่วยลดความเครียด และยังค่อยอ่านข้อมูลการเทคนิคเพื่อเตือนล่วงหน้าในกรณีที่เกิดปัญหาทางเทคนิค ซึ่งถือเป็นการเข้ามาช่วยปรับปรุงเรื่องความปลอดภัย และมี กระบวนการ อื่น เช่น Computer Vision จดจำใบหน้า มองหาวัตถุ จดจำเสียงและโต้ตอบด้วยเสียงกลับ ปัจจุบัน CIMON-2 ถูกไปประจำการที่ International Space Station (ISS)
Mars 2020 Perseverance Rover
หุ่นยนต์ AI ภาระกิจเพื่อสำรวจร่องรอยของสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร Senser นับสิบที่ติดบน Perseverance Rover เพื่อค่อยหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิต เพื่อคำถามว่าเคยที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่บนดาวอังคารหรือไม AI ที่ช่วยวิเคราะห์และเก็บตัวอย่างกับมาที่โลก AI ที่วิเคราะห์ด้วยข้อมูลด้านธรณีวิทยาจากภาพ รวมถึงความสามารถของ AI ในการเดินทางสำรวจในทางที่เป็นมนุษย์ยังไม่ไปถึง
Interactive Tools Provide Insight into Satellite Collision
เครื่องมือวิเคราะห์ภาพด้วย AI และใช้อัลกอริทึม ทำนายเส้นทางโครจรของดาวเทียมที่ต้องอาจไปชน ซากดาวเทียม (Debris) ที่เกิดจาก ดาวเทียมถูกปลดประจำการ หรือดาวเทียมที่ขาดการติดต่อ
Kepler Mission
ดาวเทียมสำรวจอวกาศ ที่มี AI ไว้สร้างแบบจำลอง 3 มิติ และ วัดค่า Shapes, Sizes, Spin Rates ของดาวในระบบ Galaxy และคำนวณ วงโครงจรของดาวเคราะห์น้อยเพื่อทำนายหากดาวเคราะห์น้อยจะชนโลก
ที่ยกตัวอย่างเป็นการใช้เทคโนโลยี AI ในการวิเคราะห์ทำนายหรือตรวจสอบ เพื่อทำภาระในกิจการอวกาศให้ประสบความสำเร็จ แต่ก็มีอีกหลายภาระกิจที่ไม่สำเร็จตามคาดหวัง แต่ความผิดพลาดนั้นทำให้เราได้องค์ความรู้และบุคคลกรที่มีประสบการณ์มากขึ้นมาช่วยพัฒนาด้านต่าง ๆ ต่อไป